LevelUp! Studio » innodb https://blog.levelup.in.th Experience the new world. Fri, 26 May 2017 10:06:07 +0000 th hourly 1 http://wordpress.org/?v=3.8.1 HandlerSocket NoSQL ในรูปแบบของ MySQL https://blog.levelup.in.th/2012/09/30/how-to-install-handlersocketinstall-handlersocket-%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%87/ https://blog.levelup.in.th/2012/09/30/how-to-install-handlersocketinstall-handlersocket-%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%87/#comments Sun, 30 Sep 2012 05:34:45 +0000 http://blog.levelup.in.th/?p=2057 ก่อนอื่นต้องเท้าความก่อนว่า HandlerSocket คืออะไร HandlerSocket คือ Plugin MySQL ของ InnoDB Engine (เท่านั้น) ที่จะช่วยให้เราสามารถใช้ NoSQL ในรูปแบบของ MySQL ทำให้ได้ speed เพิ่มขึ้นมากหลายเท่าโดยที่โครงสร้างข้อมูลยังอยู่ในรูปแบบของตารางอยู่ (ผู้เขียน HandlerSocket claim ว่าเร็วกว่า Memcache ถ้าปริมาณข้อมูลใส่ใน memory ได้พอเลยนะเออ!) ซึ่งหลักการของ HandlerSocket คือตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกจาก MySQL ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SQL Parse ซึ่งเป็นขั้นตอนที่กินเวลามากที่สุด แต่ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันสักนิดก่อนจะใช้งาน HandlerSocket

  • ต้องแก้ Code ใหม่เนื่องจากไม่สามารถใช้ SQL query ได้อีกต่อไป ต้องใช้ function ที่ตัวเชื่อมกับ HandlerSocket มีให้เท่านั้น
  • Join ไม่ได้เพราะเป็นการใช้งานแบบ NoSQL เต็มรูปแบบ ใช้ได้เฉพาะ Query ง่ายๆ ของ SELECT,INSERT, UPDATE, DELETE ที่อ้างอิงกับ primary key
  • Replication ไม่ได้ถ้าใช้เป็นรูปแบบการ write (แก้ปัญหาได้ด้วยการใช้แค่ read อย่างเดียว write ยังใช้เป็น SQL เหมือนเดิม)
  • ไม่มีระบบ Autenticatation ไม่มี Security ใดๆ (ต้องเข้าใจก่อนว่า NoSQL เจ้าอื่นๆ เช่น Redis, Memcache ก็เป็นแบบนี้เช่นกัน) แต่สามารถใช้ Firewall block port ที่จะใช้งานจากภายนอกแทนได้
  • ควรปิดระบบ query cache เวลาใช้งานไม่งั้นค่าที่อ่านมาได้อาจผิดพลาด (แต่เนื่องจากมันเร็วส์อยู่แล้ว ปิด query cache ก็ไมได้กระทบกับระบบอะไรมากหรอก)
  • ถ้า insert รัวๆ Auto Increment จะนับข้ามบ้างเป็นบางครั้ง ถ้าไม่ serious ว่าเลขต้องเรียงต่อกันก็ไม่เป็นไรครับ
  • ใช้ได้กับ InnoDB Storage Engine เท่านั้น!

มาดูที่ข้อดีกันบ้าง

  • เร็วส์ (750,000 query/sec แต่อันนี้เป็นคำโม้จากคนสร้างนะครับ ใช้จริงอาจไม่ถึง แต่เร็วกว่า memcache ถ้า memory พอดีกับข้อมูลครับ)
  • INSERT, UPDATE ตัว HandlerSocket จะจับมัดเป็นก้อนเดียวกันโยนไปทีเดียวเลยเหมือนใช้ Transaction ในตัว (เฉพาะ performance นะครับ ไม่ได้ใช้ transaction ได้เต็มรูปแบบ) จริงๆ ก็คือ เร็วส์แหละครับ
  • ข้อมูลยังคงออกมาเป็นรูปแบบของตาราง MySQL ที่เราคุ้นเคย เรายังใช้ SQL มาดึงข้อมูลภายหลังได้ หากเกิดเปลี่ยนใจไม่อยากใช้ HandlerSocket แล้ว
  • เร็วส์ เร็วส์ เร็วส์ (ไม่มีข้อดีอย่างอื่นแล้ว)

ถ้าพิจารณาข้อจำกัดต่างๆ แล้ว ทุกอย่างผ่านหมด ก็มาดูที่วิธีติดตั้งได้เลย

1. install percona server ก่อนเลยครับ ถ้าไม่ใช้ Percona Server ก็ต้อง compile plugin ใช้เองซึ่งวุ่นวายกว่ามากครับ วิธี Install ตามนี้เลย

- apt-get
- yum

2. แก้ไขไฟล์ my.cnf เพิ่มบรรทัดเหล่านี้เข้าไป


loose_handlersocket_port = 9998
# the port number to bind to for read requests
loose_handlersocket_port_wr = 9999
# the port number to bind to for write requests
loose_handlersocket_threads = 16
# the number of worker threads for read requests
loose_handlersocket_threads_wr = 1
# the number of worker threads for write requests
open_files_limit = 65535
# to allow handlersocket to accept many concurrent
# connections, make open_files_limit as large as
# possible.

9998 คือ port สำหรับ read อย่างเดียว ส่วน 9999 คือ port สำหรับ write นะครับ (แก้เลขเป็น port อื่นได้)

3. login เข้า MySQL เป็น root แล้วพิมพ์คำสั่งไปว่า

install plugin handlersocket soname 'handlersocket.so';

4. สั่ง SHOW PROCESS LIST ถ้า Install สำเร็จจะปรากฏ Worker ใน process list ดังนี้


mysql> SHOW PROCESSLIST;
+----+-------------+-----------------+---------------+---------+------+-------------------------------------------+------------------+
| Id | User | Host | db | Command | Time | State | Info |
+----+-------------+-----------------+---------------+---------+------+-------------------------------------------+------------------+
| 1 | system user | connecting host | NULL | Connect | NULL | handlersocket: mode=rd, 0 conns, 0 active | NULL |
| 2 | system user | connecting host | NULL | Connect | NULL | handlersocket: mode=rd, 0 conns, 0 active | NULL |
...
| 16 | system user | connecting host | NULL | Connect | NULL | handlersocket: mode=rd, 0 conns, 0 active | NULL |
| 17 | system user | connecting host | handlersocket | Connect | NULL | handlersocket: mode=wr, 0 conns, 0 active | NULL |

5. เสร็จสิ้น หลังจากนี้ก็ต้องหา library ที่สามารถติดต่อกับ HandlerSocket มาใช้ละครับ เช่น php ใช้ php-handlersocket nodejs ใช้ node-handlersocket

]]>
https://blog.levelup.in.th/2012/09/30/how-to-install-handlersocketinstall-handlersocket-%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%87/feed/ 2
การ backup และทำ replication database โดยไม่ต้องปิด server https://blog.levelup.in.th/2012/05/31/how-to-use-backup-and-replication-without-close-server-as-maintenance-state%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-backup-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%b3-replication-database-%e0%b9%82%e0%b8%94/ https://blog.levelup.in.th/2012/05/31/how-to-use-backup-and-replication-without-close-server-as-maintenance-state%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-backup-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%b3-replication-database-%e0%b9%82%e0%b8%94/#comments Thu, 31 May 2012 15:45:31 +0000 http://blog.levelup.in.th/?p=1863 โดยปกติแล้ว การ backup database เรามักจะใช้คำสั่ง mysqldump กันใช่ไหมครับ แต่คำสั่งนี้มีข้อเสียที่ร้ายแรงอย่างหนึ่งคือตารางที่ backup ทุกตารางจะต้องถูก Lock จนกว่าจะทำการ backup เสร็จ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถให้บริการเว็บไซต์ของเราในระหว่าง backup ได้ ส่งผลให้ต้องมีการปิด maintenance ระหว่าง backup หรือถูกบังคับให้ทำ Replication แบ่งสองเครื่องทั้งที่เราเองก็มีทรัพยากรจำกัด เนื้อที่จำกัด ไม่สามารถทำ Replication กับทุกๆ ฐานข้อมูลได้ วันนี้ผมมีวิธีช่วย backup ดีๆ ง่ายๆ มาแนะนำคือเราจะใช้ Xtrabackup ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์ของ Percona Server นั่นเอง

ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า Percona Server คือ MySQL เวอร์ชั่นปรับปรุงนั่นเอง โดยทางทีมพัฒนาได้นำเอา InnoDB Engine ไปพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพหลายๆ อย่าง และใส่ฟีเจอร์เด็ดๆ เพิ่มเข้ามามากมายจนสุดท้ายออกมาเป็น Percona Server ซึ่งเจ้านี่มีความเข้ากันได้กับ InnoDB Engine ตัวเดิมของ MySQL 100% ครับ ใช้แทน MySQL ได้ทุกประการ รวมไปถึง Tools ต่างๆ ที่เคยใช้กับ MySQL ได้ก็จะใช้กับ Percona Server ได้เช่นกัน (แม้จะเป็น MyISAM ก็สามารถใช้งานได้ปกติไม่มีปัญหาใดๆ ครับ แค่ performance จะยังคงเหมือน MySQL ไม่ได้ถูกปรับปรุงขึ้นตามด้วย)

ส่วน Tools ที่เราจะใช้สำหรับ Backup จริงๆ ชื่อ XtraBackup ครับ ซึ่งเป็นทีมพัฒนาทีมเดียวกับ Percona Server (และ Percona Data Recovery Tool for InnoDB จากบทความที่แล้วด้วยเช่นกัน) เจ้าตัว Xtrabackup นี้จริงๆ ใช้งานกับ mysql ธรรมดาที่ไม่ใช่ Percona Server ก็ได้แต่จะมีความสามารถบางอย่างที่ทำไม่ได้หากไม่ได้ใช้ Percona Server ครับ เช่น การ Backup/Restore ฐานข้อมูลเฉพาะตารางบางตารางที่เราต้องการ (เพื่อประหยัดเวลา/cpu ของ server) เป็นต้น ซึ่ง Tools ตัวนี้จะช่วย Backup แบบไม่ต้องปิด server (ไม่ต้อง Lock Table ระหว่างทำการ backup) ได้เฉพาะตารางที่ใช้งานฐานข้อมูลชนิด InnoDB เท่านั้น (จริงๆ MyISAM ก็ใช้ Tools ตัวนี้ช่วย backup ได้ครับ แค่จะยังติด lock อยู่เหมือนเดิม) นอกจากนี้หากเราใช้งานฐานข้อมูลบน VPS หรือ Cloud ที่ให้พื้นที่ใช้งานน้อยๆ ยังสามารถ Backup เป็นแบบ Incremental หรือส่งไฟล์ Backup เป็น stream ไปเข้า server ตัวอื่นที่มีพื้นที่เยอะกว่าได้อีกด้วย! (Amazing ไหมละ!) ซึ่งการ Backup โดยที่ Server ยังคงให้บริการได้ปกติแบบนี้เราจะเรียกว่า Hot Backup ครับ ส่วนการ Backup ที่จำเป็นต้องปิด Server ระหว่าง Backup เราจะเรียกว่า Cold Backup เอาละหลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว (และต้องมี account root ของ OS ด้วยนะครับ) ลองมาดูวิธีใช้งานกันดีกว่าครับ (ทุกขั้นต้อนต้องทำขณะเป็น root ครับ)

ขั้นตอนการ Backup

  1. innobackupex –user=DBUSER –password=DBUSERPASS –no-lock –defaults-file=/path/to/my.cnf /path/to/BACKUP-DIR/
    แก้ dbuser/dbuserpass ให้เรียบร้อย และ path นี้เป็น dir สำหรับเก็บ backup ที่ได้ออกมา รอจนปรากฎคำว่า “innobackupex: completed OK!” ที่บรรทัดสุดท้าย แสดงว่าสำเร็จ (ถ้าโปรแกรมฟ้องว่าหา datadir ไม่พบให้ไปแก้ my.cnf เติม datadir เข้าไปครับ ทั่วไป default จะอยู่ที่ /var/lib/mysql แต่ถ้ามี datadir แล้วยังฟ้อง แสดงว่าหาไฟล์ my.cnf ไม่เจอ ตรวจสอบไฟล์ my.cnf ให้ดีว่า path ที่ระบุถูกต้องหรือไม่)
  2. innobackupex –apply-log /path/to/BACKUP-DIR/xxx
    โดยที่ xxx คือ dir ที่โปรแกรมสร้างขึ้นซึ่งมักจะเป็นชื่อวันที่ + เวลาที่ backup รอจนปรากฎคำว่า “innobackupex: completed OK!” ที่บรรทัดสุดท้าย แสดงว่าสำเร็จ (ถ้าโปรแกรมฟ้องว่า ibbackup เลือก binary ไม่ถูก ให้เติม option –ibbackup ตามด้วยชื่อในหน้านี้โดยเลือกให้ถูกต้องตามที่เขียนไว้ครับ)

ขั้นตอนการ Restore

  1. เมื่อต้องการ Restore Backup ที่เก็บไว้ ให้สั่ง “service mysql stop” ลบข้อมูลใน datadir ทิ้งให้ว่างเปล่า (หรือจะแค่เปลี่ยนชื่อ ป้องกันความผิดพลาดก็ได้ครับ) แล้วสั่ง
    innobackupex –copy-back –default-file=/path/to/my.cnf  /path/to/BACKUP-DIR/xxx
    รอจนปรากฎคำว่า “innobackupex: completed OK!” ที่บรรทัดสุดท้าย แสดงว่าสำเร็จ ถ้าขึ้นว่า “Original data directory ‘./’ is not empty! at /opt/local/bin/innobackupex” แสดงว่าหาไฟล์ my.cnf ไม่เจอ
  2. chown -R mysql:mysql /var/lib/mysql
    เพื่อเปลี่ยน permission จาก root (user ที่เราใช้อยู่) เป็น mysql แล้วสั่ง “service mysql start” เป็นอันเสร็จ ง่ายไหมล่ะครับ หุหุ

ขั้นตอนการทำ Replication

อันนี้เป็นของแถมครับ โดยปกติแล้วเราจะทำ Replication กันเราจะต้อง Backup ข้อมูลจากเครื่อง Master และสั่ง Lock Table ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้จนกว่าจะ Setup Replication เสร็จ แต่นี่ไม่ต้องครับ ตัว Master ยังคงให้บริการได้ปกติและเราสามารถเพิ่มจำนวน Slave กี่ตัวก็ได้ในขณะนั้นตามต้องการ โดยให้ทำตามขั้นตอน Backup จนจบขั้นตอนที่ 2 แล้วต่อด้วยขั้นตอนด้านล่างต่อครับ

  1. หลังได้ไฟล์ Backup ชื่อ xxx (เป็นเวลา backup) แล้วสั่ง
    tar -zcvf db.tar.gz xxx
    ให้เรียบร้อย โดย xxx คือ dir ที่เก็บ backup ของเราเอาไว้ (ที่ชื่อเป็นวัน-เวลา backup นั่นแหละครับ) เพื่อเตรียมโยนไปยัง server อีกตัวที่ต้องการจะทำ Slave ครับ
  2. โยนไฟล์ db.tar.gz ที่บีบอัดไว้ไปยังเครื่อง Slave ด้วย rsync, scp ตามแต่สะดวกครับ หรือใครไม่ได้ลงไว้ ก็ใช้ tools มาตรฐานเลยครับ ssh ด้วยคำสั่ง
    ssh USER@SLAVE_IP cat < “/path/to/db.sql.gz” “>” “/path/to/save”
    ก็แก้ไข USER, SLAVE_IP, path ตัวแรก (เครื่องที่มี backup ไว้), path ที่ต้องการจะส่งไปให้ (เครื่อง slave) ให้ถูกต้องแล้วส่งไฟล์ได้เลยครับ
  3. โยนไฟล์ my.cnf จากเครื่อง Master ไปยังเครื่อง Slave ด้วยคำสั่งเดียวกันกับข้อ 2 ครับ
  4. mysql -uroot -p เข้าในเครื่อง Master ไปสร้าง user สำหรับเครื่อง Slave ดังนี้ครับ
    GRANT REPLICATION SLAVE ON *.*  TO ‘repl’@'$slaveip’ IDENTIFIED BY ‘$slavepass’;
    repl คือ user mysql ส่วน $slaveip, $slavepass ก็ตามชื่อเลยครับ
  5. login เข้าเครื่อง Slave แล้ว untar ด้วย
    tar -zxvf db.tar.gz
    ที่ตำแหน่งที่เราเก็บไฟล์ไว้ตามคำสั่งในข้อ 2
  6. service mysql stop ที่เครื่อง slave
  7. copy dir xxx ที่ได้จากการแกะ tar ไปที่ datadir ของเครื่อง Slave ทับไปเลย (หรือจะ mv เปลี่ยนชื่อ datadir เดิมเก็บไว้ก่อนก็ได้เช่นเดิมครับ)
  8. แก้ไฟล์ my.cnf ที่เครื่อง slave โดยบรรทัด server-id แก้เป็น
    server-id=2
  9. ถ้าใช้ ubuntu หรือ debian ให้แก้ไฟล์ /etc/mysql/debian.cnf ซึ่งจะมี user debian-sys-maint อยู่ในนั้นด้วยครับ โดยแก้ password ให้เป็น password เดียวกับเครื่อง Master ไม่อย่างนั้น startup script “service mysql stop/start/restart” จะพังครับ
  10. chown -R mysql:mysql datadir
    โดย datadir แก้เป็นตำแหน่งที่เก็บข้อมูล database ตามต้องการครับ (default คือ /var/lib/mysql)
  11. เปิดไฟล์ xtrabackup_binlog_info ที่อยู่ใน datadir ที่เราพึ่ง copy มาจะพบเลขลักษณะประมาณนี้
    TheMaster-bin.000001 481
    ของคุณจะเป็นเลขอื่นที่ไม่ซ้ำกันกับผมแน่ๆ ครับ เป็นเลขตำแหน่ง log สุดท้ายของ database ที่เราต้องการจะ replicate นั่นเอง
  12. mysql -uroot -p
    เข้า mysql เครื่อง Slave ครับแล้วพิมพ์

    CHANGE MASTER TO
    MASTER_HOST='$masterip',
    MASTER_USER='repl',
    MASTER_PASSWORD='$slavepass',
    MASTER_LOG_FILE='TheMaster-bin.000001',
    MASTER_LOG_POS=481;
    START SLAVE;
    แก้ข้อมูลให้ถูกต้องโดยตามข้อมูลที่สร้างที่ผ่านมา
  13. ลองสั่ง SHOW SLAVE STATUS \G โดยยังไม่ออกจาก MySQL Console หากพบบรรทัดเหล่านี้แสดงว่าสำเร็จแล้ว
             ...
             Slave_IO_Running: Yes
             Slave_SQL_Running: Yes
             ...

เป็นไงบ้าง เจ๋งใช่ไหมละครับ ลองเก็บไปใช้กันดูนะครับ :)

]]>
https://blog.levelup.in.th/2012/05/31/how-to-use-backup-and-replication-without-close-server-as-maintenance-state%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-backup-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%b3-replication-database-%e0%b9%82%e0%b8%94/feed/ 1
วิธีแก้ปัญหาเมื่อตาราง InnoDB ไม่สามารถ alter, optimize, dump ได้เลย https://blog.levelup.in.th/2011/06/30/how-to-deal-with-innodb-table-cannot-alter-optimize-dump-problem%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a1/ https://blog.levelup.in.th/2011/06/30/how-to-deal-with-innodb-table-cannot-alter-optimize-dump-problem%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a1/#comments Thu, 30 Jun 2011 15:51:56 +0000 http://blog.levelup.in.th/?p=1126 เนื่องจากช่วงนี้มีปัญหาโลกแตกที่ตาราง InnoDB อยู่ๆ ก็เกิด alter, optimize, dump ไมได้เลยซักกะอย่าง มันจะบอกว่า “MySQL server has gone away” หรือ “Error 2013: Lost connection to MySQL server during query when …” ซึ่งช่างเป็น error ที่สื่อความหมายได้ดีเยี่ยมเสียจริง! ไปดูใน log error ก็ฟ้องว่า thread MySQL ตายกลางทาง กรุณา submit bug ไปให้ MySQL เอ่อ… พอสั่ง Check table มันก็บอกว่าปกติดี เอะยังไง! สุดท้ายเนื่องจากจนปัญญาจึงต้องมานั่ง query ทีละ rowๆ ออกมาใส่ตารางใหม่ที่โครงสร้างเหมือนเดิม ซึ่งได้ผลดังนี้

1. ตารางที่ query มันใหญ่มาก! ไม่สามารถสั่ง INSERT INTO user2 (SELECT * FROM user) ได้ตรงๆ เลยแบบง่ายๆ

2. ลองสั่ง INSERT INTO user2 (SELECT * FROM user LIMIT 0,1000) ไรทำนองนี้ก็ไม่ให้อีก! มันฟ้องว่า subquery ไม่ support limit เวรจริงๆ ครับ 55

3. ลองใช้ php ช่วย คือสั่ง SELECT * FROM user WHERE user_id NOT IN (SELECT user_id FROM user2) LIMIT 0,1000 แล้วค่อยเอา user_id ที่ได้มา query ต่อเป็น “INSERT INTO user2 (SELECT * FROM user WHERE user_id IN(“.implode(‘,’, $a_user_id).”))” ก็ยังไม่ได้เพราะแต่ละ row มันใหญ่มาก กว่าจะเสร็จก็ช้ามากๆ

4. สุดท้ายจึงได้เป็น SELECT user_id FROM user WHERE user_id NOT IN (SELECT user_id FROM user2) LIMIT 0,1000 แล้วต่อด้วย ”INSERT INTO user2 (SELECT * FROM user WHERE user_id IN(“.implode(‘,’, $a_user_id).”))” เหมือนเดิม ก็ใช้ได้ละครับ :)

5. รันไปซักพักพบ “MySQL Server has gone away” อีกแล้ว – -” จึงค่อยๆ ลด Limit มาเหลือ 1 ก็ยังพัง และค่อยๆ ลอง SELECT * FROM user WHERE id=1 ไปเรื่อยๆ โดยเปลี่ยน * เป็น field ในตารางที่มีทีละ field ปรากฏว่าก็เจอ field เจ้าปัญหาจนได้ เป็น Text field นี่เอง! ซึ่งเราไม่สามารถแม้กระทั่งสั่ง DELETE FROM user WHERE id=1 ช่างโหดร้ายยิ่ง!

6. ต่อมาจึงต้องใส่ offset เพื่อ skip row ที่มีปัญหาไป แล้วก็รันๆ ไปซักพักอีกก็เจออีก สรุปว่าข้อมูล user แสนคน เจอ row ที่มีปัญหาทั้งหมด 5 row มันไปทำอีท่าไหนถึงพังก็ไม่อาจทราบได้ และตอนนี้ก็สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติซะที :)

]]>
https://blog.levelup.in.th/2011/06/30/how-to-deal-with-innodb-table-cannot-alter-optimize-dump-problem%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a1/feed/ 0